การวิเคราะห์และประเมินผลงานสือนำเสนอรูปแบบต่างๆ

การวิเคราะห์และประเมินผลงานสื่อนำเสนอแบบต่างๆ
เนื่องด้วยเว็บไซต์ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่เป็นหน้าแรกของเว็บไซต์ที่เรียกว่า Homepage และส่วนที่เป็นเนื้อหา (Web page) หลายๆ หน้ารวมกัน เรียกว่า Web Pages Homepage เป็นหน้าเว็บหน้าแรกของเว็บไซต์ ซึ่งมีต้องมีจุดเด่นมาก เพื่อดึงดูดให้ผู้ชมเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์และเกิดความประทับใจ อยากเข้ามาเยี่ยมชมอยู่เรื่อยๆ จึงต้องมีการจัดการประเมินเว็บไซต์เพื่อปรับปรุงแก้ไขให้ได้สื่อนำเสนอที่ดีและน่าสนใจอยู่เสมอ หลักเกณฑ์การประเมินเว็บไซต์ประกอบด้วยดังนี้คือ
หลักเกณฑ์การประเมิน Homepage
แนวคิดในการออกแบบ
- สำหรับเด็กนักเรียน
- สำหรับนักศึกษา - สำหรับบุคคลทั่วไป - บริการฟรี - เก็บค่าลงทะเบียน
1. องค์ประกอบ
- ชื่อเรียกเว็บไซต์สอดคล้องเหมาะสมกับเนื้อหา

- ชื่อหัวข้อเรื่องแต่ละเรื่องเหมาะสมสอดคล้องกับเนื้อหา
- มีการสมัครเป็นสมาชิกได้ (Member Login)
- มีกระดานข่าว(web board) (เพื่อเสนอเนื้อหาปรับปรุงที่น่าสนใจ รวมถึงการ ถามปัญหา การแสดงความคิดเห็น ฯลฯ)
- มีระบบนับจำนวนสมาชิกเพื่อประเมินความนิยม
- มีข้อแนะนำในการใช้เว็บไซต์

- มีการออกแบบหน้าโฮมเพจที่โดดเด่นแปลกใหม่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเองแสดง ถึงความคิดสร้างสรรค์
- มีการออกแบบที่สอดคล้องเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย ดึงดูดความสนใจ
- ไม่ใช้ภาพ ข้อความ เนื้อหาหรือส่วนใดส่วนหนึ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์
2. ตัวอักษร
- ชนิดตัวอักษร (Font) ต้องเป็นมาตรฐาน

- ชนิดตัวอักษรไม่ควรหลากหลายเกินกว่า 3 ชนิดใน 1 หน้าเว็บเพจ
- ชนิดตัวอักษรต้องเป็นแบบที่อ่านง่ายชัดเจน
- รูปแบบตัวอักษร แตกต่างเหมาะสม
- ขนาดตัวอักษรต้องเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
- ชนิดตัวอักษรและแบบตัวอักษรที่ใช้มีความกลมกลืนเป็นระบบในทุกหน้าของเว็บไซต์
3. การใช้สี
- สีตัวอักษร

- สีพื้นเว็บ
- สีภาพประกอบ
- สีวัตถุอื่นๆ ที่นำมาประกอบ
- ใช้สีสวยงามสบายตาไม่หลากหลายสีเกินไป
- ใช้สีสื่อความหมายได้(เช่นสีแดงแทนเรื่องราวใหม่ๆ ที่น่าติดตาม)
- ความแตกต่างระหว่างสีพื้นและสีข้อความ สีภาพประกอบ เหมาะสม
- มีความแตกต่างระหว่างสีข้อความและข้อความที่ลิงค์ได้
- ความกลมกลืนในการใช้สีในทุกหน้าของเว็บไซต์
4. ภาพกราฟิก
- ชนิดของภาพเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย (ภาพวาดการ์ตูนใช้กับเด็ก, ภาพถ่ายใช้ กับบุคคลทั่วไป)

- ภาพต้องสื่อความหมายตรงตามจุดประสงค์หรือสามารถอธิบายเพิ่มเติมได้มาก กว่าตัวหนังสือ
- ขนาดของภาพที่แสดงในหน้าจอเหมาะสม
- ชนิดและขนาดของไฟล์ภาพไม่ใหญ่เกินไป
5. ภาพเคลื่อนไหว(animation)
- ควรใช้ในกรณีที่ไม่สามารถหาภาพจริงได้ (เช่นภาพการไหลเวียนของโลหิต) หรือการอธิบายเรื่องที่เป็นนามธรรม หรือเรื่องที่ซับซ้อนเพื่อให้ดูง่ายขึ้น

- ภาพต้องสื่อความหมายตรงตามจุดประสงค์หรืออธิบายเพิ่มเติมได้มากกว่า หนังสือ
- ขนาดของภาพที่แสดงในหน้าจอเหมาะสม
- ชนิดและขนาดของไฟล์ภาพไม่ใหญ่เกินไป
- ความเร็วของการเคลื่อนไหวเป็นธรรมชาติ
- จำนวนของภาพเคลื่อนไหวเหมาะสม
6. ภาพวีดิทัศน์ (video)
- ใช้ในกรณีที่เนื้อหาต้องการนำเสนอถึงความต่อเนื่องของขั้นตอนวิธีการอย่างใด อย่างหนึ่ง หรือแสดงสภาพจริงที่เกิดขึ้น

- ขนาดของภาพวีดิทัศน์ที่แสดงในหน้าจอเหมาะสม
- ชนิดและขนาดของไฟล์ไม่ใหญ่เกินไป
- ภาพวิดิทัศน์ที่แสดงเคลื่อนไหวเหมือนจริง
- บอกวิธีการเปิดดูวีดิทัศน์หรือโปรแกรมที่จะใช้ในการดู
การประเมินด้านเสียงควรมีดังนี้
- ทั้งเสียงบรรยายและเสียงประกอบ(Background) ชัดเจน

- ใช้เสียงเหมาะสมไม่รบกวนผู้ใช้เว็บไซต์
- มีความจำเป็นในการใส่เสียงลงในเว็บไซต์
- ขนาดและชนิดของไฟล์เสียงไม่ใหญ่เกินไป
- เสียงมีความสอดคล้องสมจริงเข้ากับเนื้อหา
- คำแนะนำประกอบว่าจะใช้อย่างไรเปิดด้วยโปรแกรมอะไร
- สามารถเลือกได้ว่าจะฟังเสียงหรือไม่
7. ด้านปุ่ม (Buttons) และ สัญรูป (Icon)
- ขนาดเหมาะสมตามกลุ่มเป้าหมาย

- ตำแหน่งที่จัดวางเหมาะสมและตรงกันในทุกๆ หน้า
- สื่อความหมายได้เพียงพอ มีความเป็นสากลตามกลุ่มเป้าหมาย
- รูปแบบและขนาดของปุ่มเหมือนกันทุกหน้า
8.การประเมินด้านการจัดวางองค์ประกอบต่างๆ
- มีความสมดุลเหมาะสม

- มีความเป็นสากล (เช่นจากบนมาล่าง ซ้ายไปขวา)
- มีความกลมกลืนในทุกๆ หน้า

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น